สำนักข่าวอิรวดีของเมียนมารายงานว่า การเดินทางเยือนเมียนมาของ ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีไทย เพื่อช่วยเจรจาหาทางยุติสงครามกลางเมืองระหว่างกลุ่มต่อต้านและรัฐบาลทหารนั้น ไม่เพียงแต่จะถูกเมินจากรัฐบาลเมียนมา แต่ยังทำให้กลุ่มต่อต้านบางส่วนรู้สึกไม่สบายใจด้วย

ทักษิณและทีมงานได้พบกับตัวแทนของกลุ่มต่อต้าน ได้แก่ สหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง (KNU), พรรคก้าวหน้าแห่งชาติกะเหรี่ยง (KNPP), องค์การแห่งชาติคะฉิ่น (KNO) และรัฐบาลเอกภาพแห่งชาติ (NUG) ในเดือน มี.ค. และ เม.ย.

การพบปะดังกล่าวไม่ได้เปิดเผยต่อสาธารณะ แต่ได้รับการยืนยันจากรัฐมนตรีต่างประเทศคนใหม่ของไทย มาริษ เสงี่ยมพงษ์ ว่าการเจรจาดังกล่าวเกิดขึ้นจริง แต่ดำเนินการเป็นการส่วนตัว และไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของนโยบายต่างประเทศอย่างเป็นทางการของไทย

“เราต้องยอมรับว่า คุณทักษิณเป็นที่รู้จักและมีความเชื่อมโยงกับเมียนมา เชื่อว่าเขาสามารถช่วยได้” รัฐมนตรีต่างประเทศคนใหม่กล่าว

เชื่อกันว่า ทักษิณมีความใกล้ชิดกับ มิน อ่อง หล่าย ผู้นำเผด็จการทหารเมียนมา เขาเคยไปเยี่ยม มิน อ่อง หล่าย ในปี 2013 และมีผลประโยชน์ทางธุรกิจที่นั่นภายใต้ระบอบการปกครองก่อนหน้านี้

อย่างไรก็ตาม นับตั้งแต่การหารือในเดือน มี.ค. และ เม.ย. รัฐบาลทหารเมียนมาก็นิ่งเงียบในประเด็นนี้ และไม่ตอบรับคำร้องขอเยือนของทักษิณ แหล่งข่าวในไทยซึ่งคุ้นเคยกับเรื่องนี้บอกกับอิรวดีว่า การหารือดังกล่าวส่งผลย้อนกลับต่อทักษิณ

“ทักษิณกำลังถูกสื่อและฝ่ายค้านโจมตี เป็นการดีสำหรับเขาที่จะถอยออกมาแบบไม่เสียหน้า เนื่องจาก มิน อ่อง หล่าย ไม่ตอบสนองต่อคำขอของเขา” แหล่งข่าวกล่าว

เมื่อวันที่ 8 พ.คคำพูดจาก สล็อต666. คณะกรรมการสภาผู้แทนราษฎรด้านความมั่นคงแห่งรัฐและกิจการชายแดน ซึ่งนำโดยพรรคก้าวไกล ประกาศว่า จะสอบสวนการหารือของทักษิณกับกลุ่มต่อต้านรัฐบาลทหาร โดยกล่าวว่า การพบปะอาจทำให้เกิดความสับสนเกี่ยวกับบทบาทของประเทศไทยในการฟื้นฟูความสงบสุขในประเทศเพื่อนบ้าน

แหล่งข่าวยังกล่าวอีกว่า กองทัพไทยกำลังจับตาดูผู้ที่ทักษิณพบปะอย่างใกล้ชิด รวมถึงกลุ่มต่อต้านเมียนมาและกลุ่มชาติพันธุ์ติดอาวุธ โดยบอกว่ากลุ่มเหล่านี้ไม่แน่ใจว่ากองทัพไทยยินดีหรือไม่ที่ได้เห็นทักษิณมาพบปะกับกลุ่มดังกล่าว

แหล่งข่าวรายหนึ่งจากกลุ่มต่อต้านที่เข้าร่วมการหารือกล่าวว่า ทักษิณได้นำเอกสารอย่างเป็นทางการมาให้พวกเขาลงนาม เพื่อมอบอำนาจให้ทักษิณทำหน้าที่เป็นคนกลาง แต่ “ไม่มีกลุ่มใดลงนามในเอกสารที่ทักษิณนำเสนอ” โดยอ้างถึงความกังวลเกี่ยวกับการทำให้รัฐบาลไทยไม่พอใจ

ขณะที่การประชุมกับ NUG ซึ่งเป้นรัฐบาลเงาก็ไม่เป็นไปตามที่อดีตนายกรัฐมนตรีไทยคาดหวังไว้ เพราะเขาได้พบเฉพาะเจ้าหน้าที่ระดับกลางเท่านั้น

อู ออง ซาน มยินต์ เลขาธิการคนที่ 2 ของ KNPP บอกกับอิรวดีว่า ในระหว่างการพบปะหารือ ทักษิณกล่าวว่า เขาต้องการไกล่เกลี่ยความขัดแย้งที่กำลังดำเนินอยู่ของเมียนมา

“เราไม่ได้ทำข้อตกลงใด ๆ กับเขา เราบอกว่าตอนนี้ไม่ใช่เวลาสำหรับการเจรจา เราได้พูดคุยกันว่า ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมจะเป็นประโยชน์ต่อผู้คนอย่างไรในขณะที่มีการต่อสู้กัน เราไม่ได้พูดคุยเรื่องอื่นใดอีก” เขากล่าว

เรียบเรียงจาก Irrawaddyคำพูดจาก เว็บดีฝากถอนปลอดภัย

By admin