ภาษีที่ดิน คือ การเรียกเก็บภาษีตามกฎหมายที่มาแทนที่ ภาษีโรงเรือนและที่ดินและภาษีบำรุงท้องที่ที่มีความซ้ำซ้อนกัน โดยภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง จะเป็นรูปแบบของภาษีรายปีที่คำนวณจากมูลค่าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่มีไว้ในครอบครอง ซึ่งจะมีเทศบาล อบต. เป็นผู้เรียกเก็บ
สำหรับที่กทม. จะต้องชำระที่สำนักงานเขต ส่วนเมืองพัทยาจะต้องชำระที่ศาลาว่าการเมืองพัทยา
ตามประกาศพระราชกฤษฎีกาลดภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างบางประเภท (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2566 จากเว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา มีการลดอัตราภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง 15% ตามปีภาษี 2566 โดยมีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง 4 ประเภทที่ได้รับการลดอัตราภาษีลง ดังนี้
ที่ดินเพื่อการเกษตรกรรมสำหรับที่ดินที่มีการนำมาใช้ประโยชน์ทางด้านเกษตรกรรม จะต้องเสียภาษีในอัตรา 0.01-0.1% ซึ่งแบบได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้
บุคคลธรรมดา จะต้องเสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างตามอัตรา ดังนี้
- ที่ดินมูลค่า 0-50 ล้านบาท: ได้รับการยกเว้นภาษี
- ที่ดินมูลค่า 50-125 ล้านบาท: อัตราภาษี 0.01% = ล้านละ 100 บาท
- ที่ดินมูลค่า 125-150 ล้านบาท: อัตราภาษี 0.03% = ล้านละ 300 บาท
- ที่ดินมูลค่า 150-550 ล้านบาท: อัตราภาษี 0.05% = ล้านละ 500 บาท
- ที่ดินมูลค่า 550-1,050 ล้านบาท: อัตราภาษี 0.07% = ล้านละ 700 บาท
- ที่ดินมูลค่า 1,050 ล้านบาทขึ้นไป: อัตราภาษี 0.1% = ล้านละ 1,000 บาท
นิติบุคคล จะต้องเสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างตามอัตรา ดังนี้
- ที่ดินมูลค่า 0-75 ล้านบาท: อัตราภาษี 0.01% = ล้านละ 100 บาท
- ที่ดินมูลค่า 75-100 ล้านบาท: อัตราภาษี 0.03% = ล้านละ 300 บาท
- ที่ดินมูลค่า 100-500 ล้านบาท: อัตราภาษี 0.05% = ล้านละ 500 บาท
- ที่ดินมูลค่า 500-1,000 ล้านบาท: อัตราภาษี 0.07% = ล้านละ 700 บาท
- ที่ดินมูลค่า 1,000 ล้านบาทขึ้นไป: อัตราภาษี 0.1% = ล้านละ 1,000 บาท
ที่ดินเพื่อการอยู่อาศัยสำหรับที่ดินเพื่อการอยู่อาศัย จะต้องเสียภาษีในอัตราตั้งแต่ 0.02-0.1% โดยแบ่งตามประเภทของเจ้าของที่ดิน ดังนี้
บุคคลธรรมดาผู้เป็นเจ้าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้างหลังเดียว จะต้องเสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างตามอัตรา
- ที่ดินมูลค่า 0-50 ล้านบาท: ได้รับการยกเว้นภาษี
- ที่ดินมูลค่า 50-75 ล้านบาท: อัตราภาษี 0.03% = ล้านละ300 บาท
- ที่ดินมูลค่า 75-100 ล้านบาท: อัตราภาษี 0.05% = ล้านละ 500 บาท
- ที่ดินมูลค่า 100 ล้านบาทขึ้นไป: อัตราภาษี 0.1% = ล้านละ 1,000 บาท
บุคคลธรรมดาผู้เป็นเจ้าของเฉพาะสิ่งปลูกสร้างหลังเดียว จะต้องเสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างตามอัตรา ดังนี้
- ที่ดินมูลค่า 0-10 ล้านบาท: ได้รับการยกเว้นภาษี
- ที่ดินมูลค่า 10-50 ล้านบาท: อัตราภาษี 0.02% = ล้านละ 200 บาท
- ที่ดินมูลค่า 50-75 ล้านบาท: อัตราภาษี 0.03% = ล้านละ 300 บาท
- ที่ดินมูลค่า 75-100 ล้านบาท: อัตราภาษี 0.05% = ล้านละ 500 บาท
- ที่ดินมูลค่า 100 ล้านบาทขึ้นไป: อัตราภาษี 0.1% = ล้านละ 1,000 บาท
บุคคลธรรมดาผู้เป็นเจ้าของที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้าง 2 หลังขึ้นไป จะต้องเสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างตามอัตรา ดังนี้
- ที่ดินมูลค่า 0-50 ล้านบาท: อัตราภาษี 0.02% = ล้านละ 200 บาท
- ที่ดินมูลค่า 50-75 ล้านบาท: อัตราภาษี 0.03% = ล้านละ 300 บาท
- ที่ดินมูลค่า 75-100 ล้านบาท: อัตราภาษี 0.05% = ล้านละ 500 บาท
- ที่ดินมูลค่า 100 ล้านบาทขึ้นไป: อัตราภาษี 0.1% = ล้านละ 1,000 บาท
ที่ดินเพื่อพาณิชยกรรม เป็นที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่นำมาใช้ประโยชน์ในด้านอื่นๆ โดยถูกนำมาใช้ในลักษณะออฟฟิศ สำนักงาน โรงแรม หรือแม้แต่ธุรกิจร้านอาหาร โดยอัตราภาษีตั้งแต่ 0.3-0.7% ดังนี้
- ที่ดินมูลค่า 0-50 ล้านบาท: อัตราภาษี 0.3% = ล้านละ 3,000 บาท
- ที่ดินมูลค่า 50-200 ล้านบาท: อัตราภาษี 0.4% = ล้านละ 4,000 บาท
- ที่ดินมูลค่า 200-1,000 ล้านบาท: อัตราภาษี 0.5% = ล้านละ 5,000 บาท
- ที่ดินมูลค่า 1,000-5,000 ล้านบาท: อัตราภาษี 0.6% = ล้านละ 6,000 บาท
- ที่ดินมูลค่า 5,000 ล้านบาทขึ้นไป: อัตราภาษี 0.7% = ล้านละ 7,000 บาท
ที่ดินรกร้างว่างเปล่า ที่ดินรกร้างว่างเปล่า เป็นที่ดินที่ไม่ได้นำมาใช้ประโยชน์ โดยปล่อยให้ที่ดินดังกล่าวเป็นที่รกร้างว่างเปล่า จะต้องเสียภาษีที่ดินว่างเปล่าตั้งแต่ 0.3-0.7% เช่นกัน โดยคำนวณได้ ดังนี้
- ที่ดินมูลค่า 0-50 ล้านบาท: อัตราภาษี 0.3% = ล้านละ 3,000 บาท
- ที่ดินมูลค่า 50-200 ล้านบาท: อัตราภาษี 0.4% = ล้านละ 4,000 บาท
- ที่ดินมูลค่า 200-1,000 ล้านบาท: อัตราภาษี 0.5% = ล้านละ 5,000 บาท
- ที่ดินมูลค่า 1,000-5,000 ล้านบาท: อัตราภาษี 0.6% = ล้านละ 6,000 บาท
- ที่ดินมูลค่า 5,000 ล้านบาทขึ้นไป: อัตราภาษี 0.7% = ล้านละ 7,000 บาท
อย่างไรก็ตาม วานนี้นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ระบุว่า เมื่อวานนี้ (31 สิงหาคม) ถือเป็นวันสุดท้ายของการชำระภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ทั้งนี้ถ้าจ่ายผ่านแอปพลิเคชั่นธนาคาร ได้ถึงเวลาเที่ยงคืน และถ้าจ่ายที่สำนักงานเขตหรือธนาคารกรุงไทยจ่ายได้ตามเวลาเปิดปิดของเขตและธนาคารคำพูดจาก สล็อต777 เว็บตรง
หากใครที่ยังไม่จ่าย หลังเที่ยงคืนก็จะมีค่าปรับเงินเพิ่มอีก 11% โดยในส่วนของ 1% จะเพิ่มทุกเดือน ส่วนอีก 10% ถ้าหากมีจดหมายเตือนจะเป็น 20% ถ้ามีเดดไลน์แล้วไม่มาจ่ายก็เป็น 40% ซึ่งอาจทำให้ต้องเสียค่าปรับเงินเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
ขอบคุณข้อมูล:K-Property