นายธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดี และประธานที่ปรึกษาศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยผถึงลสำรวจพฤติกรรมการใช้จ่ายในช่วงการแข่งขันฟุตบอลโลก 2022 ว่า คาดว่า มีเงินสะพัด 75,815 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 24.2% เมื่อเทียบกับฟุตบอลยูโร 2020 ทีมีเงินสะพัดเพียง 61,041 ล้านบาท แต่ลดลง 1.4% เมื่อเทียบกับการแข่งขันบอลโลก 2018 ที่มีเงินสะพัด 76,897 ล้านบาท
ทั้งนี้ เงินสะพัดครั้งนี้ แบ่งเป็นวงเงินที่ใช้จ่ายในระบบเศรษฐกิจ เช่น ซื้อสินค้าอุปโภคบริโภค สังสรรค์ ซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้า และอุปกรณ์รับสัญญาณ เพียง18,561ล้านบาทและอีก57,253ล้านบาทหรือ 3 ใน 4 ของเงินสะพัดทั้งหมด อยู่นอกระบบเศรษฐกิจ หรือพนันบอล หรือเฉลี่ยต่อนัด1,416บาทและบางส่วนจะไหลออกไปเล่นพนันในต่างประเทศผ่านเว็บพนันต่างประเทศด้วย โดยเงินพนันบอลโลก 2022 ถือว่า มากกว่าบอลยูโร 2020 ที่อยู่ที่ 45,839 ล้านบาท แต่น้อยกว่าบอลโลก2018ที่สูงถึง 58,995 ล้านบาทคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
สำหรับพฤติกรรมการเล่นพนัน ช่วงฟุตบอลโลก 2022 ผู้ตอบส่วนใหญ่ 51.0%ตอบไม่เล่น ลดลงจากช่วงบอลยูโร 2022 ที่ตอบไม่เล่นสูงถึง 70.3%ส่วนอีก 49%ตอบเล่น ซึ่งจะมีทั้งเล่นทุกนัด เล่นบางนัด และเล่นเฉพาะทีมที่ชอบ ส่วนจำนวนเงินที่เล่นพนัน นั้น ผู้ตอบส่วนใหญ่ 37.0%ใช้เงิน 1,001-5,000 บาท ส่วน 35.1%ใช้เงิน 100-500 บาท อีก 26.5%ใช้เงิน 501-1,000 บาท มีเพียง 1.4%ที่ใช้เงินมากถึง 5,001-10,000 บาทคำพูดจาก สล็อต888
นอกจากนี้ ผู้ตอบ 70.9%ยังระบุว่า คนรู้จักเล่นพนันด้วย ส่วนอีก 29.1%ไม่เล่น โดยช่องทางเล่นพนัน ได้แก่ เว็บไซต์พนันออนไลน์ โต๊ะบอล คนรู้จัก/เพื่อน ส่วนสาเหตุการเล่นพนัน คือ รางวัล ความสนุก เป็นแฟชั่น ขณะที่แหล่งที่มาของเงินที่นำมาเล่นพนัน ส่วนใหญ่ 57.8%ตอบเงินเดือน/รายได้ปกติ อีก 30.3%เงินออม, 11.4%โบนัส/รายได้พิเศษ และ 0.5%ผู้ปกครอง
นายธนวรรธน์ กล่าวอีกว่า หากคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เห็นชอบให้นำเงิน 1,600 ล้านบาท มาซื้อลิขสิทธิ์ฟุตบอลโลก 2022 ให้ประชาชนได้รับชม จะทำให้บรรยากาศเทศกาลบอลโลกคึกคัก มีการจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น เพราะจะมีกระแสติดตามผลบอลโลก ทานอาหารนอกบ้าน สังสรรค์ ซื้อเสื้อฟุตบอลมาสวมใส่ รวมถึงร้านอาหาร ผับ บาร์ ร้านขายอุปกรณ์กีฬา จะมียอดขายเพิ่มขึ้น ขณะเดียวกัน สื่อมวลชน ยูทูบเบอร์ จะมีการรายงานข่าวสาร และเกิดการใช้จ่ายมากขึ้น แต่หากไม่มีการถ่ายทอดสด จะทำให้เงินหายจากระบบเศรษฐกิจ 5,000-10,000 ล้านบาท
“การถ่ายทอดสดจะทำให้บรรยากาศคึกคัก มีการสังสรรค์ ทำให้มีเม็ดเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ18,561ล้านบาท สูงกว่าบอลโลกปี2018ที่มีเงินสะพัดในระบบ17,901ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นในรอบ5ปีน่าจะมีผลช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจไตรมาส4ให้ขยายตัว4-4.5%ส่งผลให้ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) ทั้งปี 65 ขยายตัวตามเป้าที่3-3.5%”
สำหรับเงินค่าซื้อลิขสิทธิ์บอลโลก 2022 ที่ 1,600 ล้านบาทนั้น นายธนวรรธน์ กล่าวว่า โดยส่วนตัว มองว่า คุ้มค่าในเชิงเศรษฐกิจ เพราะการถ่ายทอดสด ทำให้มีเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ และจะมีเม็ดเงินกลับคืนสู่รัฐบาล อีกทั้งยังเป็นการคืนความสุขให้กับประชาชนเช่นเดียวกับโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจต่างๆ ของรัฐบาล เช่น โครงการคนละครึ่ง เราเที่ยวด้วยกัน.